บทเรียนเวิลด์ คัพ ฉบับกาแฟ
สวัสดีครับเพื่อนๆนักแทงบอลหรือแทงบอลออนไลน์ทุกๆคนครับ ก็เหลืออีกแค่ 2 ก้าวเท่านั้นจากทั้งหมด 64 เกมสู่บทสรุปฟุตบอลโลก 2014
บราซิล ชาติเจ้าภาพรอแก้ตัวชิงอันดับ 3 พบ ฮอลแลนด์ ในคืนวันเสาร์ และวันถัดมา เยอรมัน ลงชิงดำ อาร์เจนตินา เป็นครั้งที่ 3 ในพงศาวดารเวิลด์ คัพ ต่อจากปี 1986 และ 1990
แต่ถึงจะยังไม่จบดี เราก็พอรับรู้บทเรียนบางอย่างมาบ้างแล้ว มีอะไรบ้างเชิญทัศนา…
1 แซมบ้าไม่สง่า
ไม่จำเป็นต้องขุดความปราชัยอัปยศนัดตัดเชือกมาซ้ำเติม แม้ถูกยกเป็นตราบาปติดวงลูกหนังบราซิลตลอดไปก็ตาม เกมเปิดนสนาม และรอบ 8 ทีมสุดท้ายกับโคลอมเบียต่างหากที่ไม่น่าจดจำ เมื่อแข้งเซเลเซาเอาแต่ไล่เตะคู่แข่งแทนที่จะเป็นลูกบอล
ทัวร์นาเมนต์สุดท้ายที่บราซิลเล่นได้สะเด่าเร้าใจ ต้องย้อนไปเมื่อ 2002 ที่นำโดย “ทริปเปิลอาร์” โรนัลโด้, ริวัลโด้ และ โรนัล ดินโญ่ ตลกร้ายคือ หลุยส์ เฟลิเป้ สโคลารี่ คือกุนซือทีมชุดนั้นเช่นกัน
ทว่าด้วยคุณภาพเจเนอเรชั่นใหม่ไม่แจ่ม ผนวกปรัชญาล้าหลังเน้นพละกำลัง ทำให้ทุกอย่างยิ่งแย่ วิถีลูกหนัง “โชก้า โบนิโต้” (เกมสวยงาม) ของชาวแซมบ้ากลายเป็นเพียงคำโฆษณาสวยหรูเสียมากกว่า
2 บอลทีมชาติเชียร์ขาดใจ
เหมือนลบหลู่เกมลูกหนังอันดับ 1 อย่างพรีเมียร์ลีกแต่เห็นความจริงวันนี้อยู่แล้วว่า ต่อให้ความถี่ต่ำกว่ามา 4 ปีครั้งแต่กระแสตอบรับกระหึ่มกว่าเสียอีก
ไม่ใช่แค่ว่าฟุตบอลทีมชาติดีกว่าสโมสร มันเหนือชั้นกว่านั้นอีก ไม่เชื่อดูสิ่งที่โคลอมเบีย, แอลจีเรีย และ คอสตาริกาได้รับหลังจบทัวร์นาเมนต์ดูก็ได้!
หรือสมมติว่า อาร์เจนตินา คว้าแชมป์โลก ความสำเร็จครั้งนี้ย่อมมีค่ากับ ลิโอเนล เมสซี่ มากกว่าทุกอย่างที่เขาทำไว้กับบาร์เซโลน่า ทีมชาติหนึ่งช่วยสร้างจักรวาลรายรอบแฟนบอล ไม่มีสโมสรไหนให้อารมณ์แบบนั้นได้
3 มีความตั้งใจยังไม่พอ
ประเด็นถกเถียงระหว่างอารมณ์ร่วมกับแท็กติกเพื่อชัยชนะยังคงไม่จบสิ้น แล้วแต่กรรมหรือวาระเวลานั้น ๆ
หากไร้ซึ่งอย่างแรก เราคงไม่ได้เห็นผลงานกระฉูดแตกของ หลุยส์ ซัวเรซ เบิ้ลสองประตูพาอุรุกกวัยเฉือนอังกฤษแต่ถ้าขาดกลยุทธ์ลูกหนังไป ก็จะไม่มีปรากฏการณ์คอสตาริกาหรือฮอลแลนด์ที่เกือบได้เข้าชิงฯ อยู่รอมร่อ
อย่างไรก็ดี ทั้ง 2 ปัจจัยมีสมดุลที่ต้องรักษา และก็แน่ชัดว่า บราซิล เลือกผิดมหันต์จนลงเอยด้วยน้ำตา ความหวังทุกอย่างตกอยู่กับ เนย์มาร์ อารมณ์ร่วมเลยเถิดพาทีมไร้มิติหลากหลายจอดป้ายแบบโดนล้อยันลูกบวช
4 เกมรุกผุดจากหลุม
อาร์เจนตินา กับ ฮอลแลนด์ ต่างพยายามรุกแหลกในเกมตัดเชือก แม้ยิงไม่ได้ทั้งคู่ก็ตาม เหนือสิ่งอื่นใดเกมฟุตบอลสวยงามแบบยุโรป ได้ถูกเสริมแต่งความพลิ้วเข้าไปอีกในฟุตบอลโลหหนนี้ จากลีลาของทีมละตินอย่าง ชิลี และ โคลอมเบีย
เกมสวนกลับเร้าใจไม่แพ้กัน แบบเดียวกับที่คาร์โล อันเชลอตติ ฝากผลงานมาสเตอร์พีซนำ เรอัล มาดริดฉีกแนวรับ บาเยิร์น มิวนิค ในรอบตัดเชื่อแชมเปี้ยนส์ ลีก
น่าเสียดายที่โค้ชลูกหนังยุคโมเดิร์นหลายรายเลือกเก็บบอลไว้ก่อนไม่ให้ตัวเองเสียเปรียบ ซึ่ง 10 ปีที่แล้วไม่เคยมีมาก่อน
5 สิงโตดีแต่โว
อังกฤษอาจไม่ได้โชว์ฟอร์มเลวร้ายตามผลลัพธ์ที่ปรากฏ ทว่ายังคงสะท้อนภาพลักษณ์เดิม ๆ เกมลูกหนังผู้ดี ที่ยังคงปักใจเชื่อแบบผิด ๆ ว่ายอดนักเตะพรีเมียร์ลีกดีพอกับมาตรฐานฟุตบอลโลก
อติตยอดกุนซือยุโรปคนหนึ่งเคยให้นามทีมสิงโตคำรามไว้ว่า “เมื่อบอลเข้ามาหาตัว สัมผัสบอลแรกของนักเตะส่วนใหญ่ยังคงสั้นกว่าแข้งท็อปทีมที่หลือ”
และก็เป็นอย่างที่ว่าไว้ไม่ผิด การขาดภูมิปัญญา แท็กติก และไหวพริบลูกหนัง ฉุดรั้งนักเตะอังกฤษ ครั้นกว่าจะรู้ตัวว่าควรปรับปรุงก็สายเกินแก้ วงจรเดิม ๆ ดำเนินไปไม่เคยเปลี่ยนแปลง
6 ฟีฟ่าไร้น้ำยา
ไม่ต้องยกเอาฟุตบอลโลกมาฟ้อง แต่ข่าวใหญ่ไม่นานนี้ (แฉรับสินบนใต้โต๊ะเลือกกาตาร์เจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022) ได้บ่งบอกึงสถานภาพแตกดับของฟีฟ่าแล้ว ดูเหมือนองค์กรลูกหนังระดับโลกยังคงพึ่งพาระบบอุปถัมภ์โบร่ำโบราณ
ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จะทำลายโครงสร้างฟีฟ่าอย่างสิ้นเชิง ขึ้นอยู่ในกำมือ เซปเป้ แบล็ตเตอร์ จะยอมหรือไม่แต่ถ้ายอมก็คงแปลก ในเมื่อท่านประธานใหญ่ ยังกล้าเสนอชื่อตัวเองลงเลือกตั้งใหม่ในปีหน้า (ก็บอกแล้วว่าวงจรอุบาทว์)
7 ทางบอลดีทางบ้านแย่
เวิลด์ คัพ ฉบับล่าสุดอุดมด้วยความบันเทิง คือ ทัวร์นาเมนต์แห่งความทรงจำ พร้อมด้วยการต้อนรับที่ดีจากเจ้าบ้านทั้งในนามแฟนบอล, อาสาสมัคร, สตาฟฟ์ ตลอดจนวัฒนธรรมลูกหนังแซมบ้า
ดูเหมือนโลกลูกหนังควรจะให้บราซิลเป็นเจ้าภาพทุกครั้งไปเลย ยกเว้นแต่ไม่เอารัฐบาลบราซิล และเปลี่ยนองค์กรบริหารแบบยกชุด ในเมื่อมีความเหลื่อมล้ำชัดเจนระหว่างชุมชนผู้ยากไร้ กับพื้นที่สนามแข่งขันมูลค่าพันล้าน
ยกตัวอย่างเช่นสนามเอสตาดิอู นาซิอองนาล ในบราซิเลีย ที่กำลังถูกตรวจสอบงบประมาณสูงเกินจริง หรืออาเรน่า อมาโซเนีย ในเมืองมาเน้าส์ ซึ่งห่างไกลความเจริญ และไม่เห็นประโยชน์ใช้สอยหลังจบทัวร์นาเมนต์
ไม่ควรมีประเทศไหนจัดฟุตบอลโลกโดยไร้แบบแผนเยี่ยงนี้ กระนั้นจับตาดูรัสเซียและกาตาร์ ให้ดีเถิด หนังม้วนเดิมอาจกลับมาฉายใหม่ก็เป็นได้
8 ฟาน กัล เจ้าแท็กติก
โอเค การสั่งให้ รอน ฟลาร์ ยิงจุดโทษคนแรกอาจสุ่มเสี่ยงไป (ไม่) หน่อย แต่ถึงอย่างไร ว่าที่นายใหม่ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ได้พานพบทัวร์นาเมนต์ที่เยี่ยมยอด
ไม่ใช่แค่ตอนเปลี่ยน ทิม ครูล ลงมาเซฟจุดโทษชนะ คอสตาริกา หากแต่ยังมีแผนปรับเล่น 3 กองหลังตั้งแต่ก่อนทัวร์นาเมนต์ ใครต่อใครต่างค่อนขอดสไตล์ย้อมยุค ขนาดโยฮัน ครัฟฟ์ ยังอดไม่ได้ที่จะปรามาส หลุยส์ ฟาน กัล เป็นไดโนเสาร์ลูกหนัง
ฟาน กัล ยังกล้าคิดกล้าทำรีบปรับคืนโหมดแบ็กโฟร์หลังทุกอย่างไม่เวิร์กในเกมกับออสเตรเลีย ก่อนใช้แผน 3-4-3 บู๊ คอสตาริกา ทั้งหมดนั้นก็เพื่อชัยชนะ กุนซือทิวลิปเหล็กพร้อมจะใช้ทุกฟอร์เมชั่นเท่าที่ทำได้ใน 1 เกม!!!
9 โลกกว้างใครว่าแคบ
เทคโนโลยีโลกาภิวัตน์ทำให้โลกแคบลง ฟุตบอลแชมเปี้ยนส์ ลีก ไม่ได้มีเซอร์ไพรส์เหมือนเคย เราไม่ได้รู้จักแค่บอลอังกฤษแต่ทั้งยุโรป
กระนั้นยังมีจอมแท็กติกน่าสนใจอีกเพียบในฟุตบอลโลกทั้ง ฮอร์เก้ หลุยส์ ปินโต้ โค้ชโคลอมเบียของคอสตาริกา, โฮเซ่ เปเกร์มัน หลุยส์ ปินโต้ โค้ชโคลอมเบียของคอสตาริกา, โฮเซ่ เปเกร์มัน นายใหญ่อาร์เจนไตน์ที่กลับมาเกิดใหม่กับโคลอมเบีย และ ฮอร์เก้ ซามปาโอลี่ กุนซือเลือดฟ้า-ขาวอีกรายของทีมชิลี
กระทั่งในยุโรป นักเตะหลายรายต่างเฉิดฉายทั้งที่ไม่เคยผ่านแชมเปี้ยนส์ ลีก ยังมีโลกที่กว้างใหญ่ไกลกว่าพรีเมียร์ลีกและ ชปล. ซี่งประเดี๋ยวประด๋าวก็ลืมเลือนกันไปหมด
10 มาตรฐานเยอรมัน
ใช่มันเหมือนจะน่าเบื่อตามที่คาดเดาเอาไว้พิมพ์เขียวเยอรมันหลังล้มเหลวยูโร 2000 หันมาลงแรงกับโครงสร้างเยาวชน ผูกพันธมิตรกับสโมสรบุนเดสลีกา
ขณะที่อังกฤษทำตัวน่าผิดหวังในยูโรฉบับเดียวกันทว่าเอฟเอกลับแก้ปัญหาด้วยค่าใช้จ่าย 5 ล้านปอนด์ต่อปีไปกับกุนซือคนไหนก็ได้ที่มีชื่อเสียงติดตลาด มิต่างจากสโมสรพรีเมียร์ลีกเอะอะก็ฟาดเงิน ๆ จนเคยตัว
ตรงกันข้าม เยอรมันเข้าถึงลึกซึ้งตั้งแต่เกมระดับรากหญ้า กระทั่งผลิดอกออกผลตอบแทนด้วยสุดยอดนักฟุตบอลหลอมรวมเป็นทีมชาติอันน่าภาคภูมิใจ